
การจำแนกศัพท์ของ “สีไทย/สีโบราณ/สีไทยโทน”
โดยอาจารย์ไพโรจน์ พิทยเมธี 1.สีไทย หมายถึง สีไทยในงานจิตรกรรมไทยประเพณี สีไทยในงานทำสีหัวโขน และสีไทย ในสีย้อมผ้าต่าง ๆ เป็นสีที่มีการปรุงและผลิตสีใช้กันเองตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นวัสดุสีจากธรรมชาติ 100% มีชื่อเรียกสีและค่าสีที่เป็นเอกลักษณ์ มีคติความเชื่อ และมุมมองในการใช้สีที่เฉพาะตัวอย่างโดดเด่นและสีโบราณ 2.สีโบราณ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กล่าวไว้ว่าสีโบราณ เช่น สีชาด สีขาบ สีคราม สีหงเสน ฯลฯ ต่างกับสีทั่ว ๆ ไปที่เรารู้จักกันดีว่าสีขาว สีดำ สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีฟ้า เป็นต้น เช่น สีทาบ้าน สีย้อมผ้า สีวาดภาพ ซึ่งน่าจะหมายความว่าสีโบราณคือสีไทย ที่มีชื่อเรียกโดยเฉพาะกันใน หมู่ช่างศิลปะไทย ไม่ใช่คำเรียกสีสามัญโดยทั่วไป และมีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณนานมาแล้ว 3.การปรุงสีไทย หมายถึงการเรียกกรรมวิธีผลิตสีไทยผ่านกรรมวิธีจากภูมิปัญญาที่สืบทอดมายาวนาน ที่ล้วนมาจากธรรมชาติ 4.สีไทยโทน การรวบรวมเรื่องของสีไทยและสังเคราะห์องค์ความรู้ของสีไทย โดยเทียบสีไทยเป็น ระบบสีพิเศษ (Solid Color) เทียบค่าสีโดยใช้ระบบ CMYK และตั้งชื่อเรียกสีไทยทับศัพท์ภาษาอังกฤษ รวมทั้งตั้งรหัสสีไทย สร้าง Swatch Library Thaitone ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อการออกแบบ จัดกลุ่มและหมวดสีไทยอย่างเป็นระบบให้เหมือนกับชุดสีในมาตรฐานสากล โดยมีการตั้งชื่อเรียกใหม่ว่าสีไทยโทน โดย ไพโรจน์ พิทยเมธี เพื่อให้เกิดการใช้ที่ง่าย ได้มาตรฐาน และแพร่หลายเป็นสากลยิ่งขึ้น![]()